THAI REAL ESTATE
BUSINESS SCHOOL
Eng
Thai
ไม้กฤษณา…ไม้สร้างมูลค่าและประโยชน์
ดูทั้งหมด Post: 17 พฤศจิกายน 2023
Share via
   

ไม้กฤษณา…ไม้สร้างมูลค่าและประโยชน์

 

Eagle wood

 

หลายคนทราบหรือไม่ว่าต้นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจนั้น สามารถนำมาประเมินมูลค่าได้ และมีมูลค่ามหาศาลด้วย วันนี้โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จะมาอธิบายให้หลายๆคนที่สนใจ หรือแปลกใจว่าไม้กฤษณานั้นสามารถประเมินมูลค่าได้หรือ?? โดยวันนี้เราจะพูดถึงเรื่องของ “ประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจ” นั่นเอง งั้นเราไปดูข้อมูลพร้อมๆกันเลย

 

ขออ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ (disthai.com) ในบทความเรื่อง “กฤษณา งานวิจัยและสรรพคุณ” (https://t.ly/oSPxm) ได้พูดถึงเรื่องของไม้กฤษณาไว้ดังนี้

 

ชื่อสมุนไพร: กฤษณา

 

ชื่ออื่นๆหรือชื่อท้องถิ่น: ปอห้า(ภาคเหนือ), ไม้หอม (ภาคตะวันออก), ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้), สีเสียดน้ำ (บุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ (จันทบุรี), กายูการู, กายูกาฮู, กายูดึงปู(ปัตตานี,มาเลเซีย) ซควอเซ ซควอสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ติ่มเฮียง(จีน)

 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กฤษณา เป็นน้ำมันหรือยางที่สร้างขึ้นในเนื้อไม้ของพืชในสกุล Aquilaria ซึ่งมีอยู่ประมาณ 15 ชนิด แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแต่ชนิดที่พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น โดยใน ประเทศไทยสามารถพบได้ 4 ชนิด คือ Aquilaria baillonil, Aquilaria crassna Pierre, Aquilaria malaccensis Lamk. (ชื่อพฤกษศาสตร์พ้อง Aquilaria agallocha Roxb.) และ Aquilaria subintegra Ding Hau 

 

ชื่อสามัญ: Eagle wood, Aglia,Lignum aloes, Calambac, Akyaw, Aloewood, Calambour, วงศ์  THYMELAEACEAE

 

ถิ่นกำเนิดไม้กฤษณา
ไม้กฤษณามีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการกระจายพันธุ์ไปใน  อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา ทิเบต ภูฏาน พม่า จีน ตลอดแหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียวและฟิลิปปินส์  สำหรับในประเทศไทยจะมีกฤษณาอยู่ด้วยกัน 4ชนิด แต่ที่พบมากมี 3 ชนิด ได้แก่

1. Aquilaria crassna Pierre พบได้ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. Aquilaria malaccensis Lamk (ชื่อพ้อง Aquilaria agallocha Roxb) พบได้ในเฉพาะทางภาคใต้ที่มีความชุ่มชื้น
3. Aquilaria subintegra Ding Hau จะพบได้เฉพาะทางภาคตะวันออกเท่านั้น

 

ประโยชน์และสรรพคุณของไม้กฤษณา

1. ใช้ทำเป็นสบู่เหลว สบู่หอม ทำเป็นยาสระผม เครื่องประทินผิว หรือใช้สำหรับทำสปาเพื่อระงับความเครียด
2. ช่วยป้องกันแมลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้
4. บำรุงหัวใจ
5. แก้ลมวิงเวียนศีรษะ
6. บำรุงกำลัง
7. บำรุงธาตุ
8. บำรุงตับและปอดให้ปกติ
9. เป็นยาอายุวัฒนะ
10. แก้อาเจียน
11. แก้ท้องร่วง
12. บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ
13. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
14. แก้เสมหะ

 

Eagle wood

 

15. แก้ลมซาง ลมอ่อนเพลีย
16. แก้ไข้ ตัวร้อน
17. รักษาโรคผิวหนัง
18. แก้โรคเรื้อน
19. แก้มะเร็ง
20. ทำให้โลหิตไหลเวียนดี
21. เป็นยาคลายเส้น
22. แก้เลือดกำเดา
23. บรรเทาอาการปวดเมื่อย หรือบรรเทาอาการของโรครูมาติซัม
24. ยาขับลม
25. ใช้เป็นยาแก้ปวด
26. แก้อัมพาต
27. รักษาโรคมาลาเรีย
28. ใช้แก้ปวดหน้าอก
29. แก้อาเจียน
30. แก้ไอ
31. แก้หอบหืด

 

โดยไม้กฤษณา ยังสามารถนำไปผสมกับเครื่องหอมได้ทุกชนิด อาทิ น้ำอบไทย น้ำหอมระเหย ธูปหอม ยาหอม ซึ่งชาวอาหรับเองก็นิยมใช้ไม้หอมของต้นกฤษณามาเผาเพื่อใช้ในการอบห้องให้มีกลิ่นหอม ส่วนชาวฮินดูจะนิยมนำมาใช้จุดไฟ เพื่อให้กลิ่นหอมในโบถส์ ส่วนประโยชน์ทั่วไปของไม้กฤษณาคือนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ ไม้กระทั้งเปลือกไม้เองก็ยังสามารถมาทำเชือก กระดาษ เสื้อผ้า ย่าม ใช้สานหมวก เป็นต้น

 

ลักษณะทั่วไปของไม้กฤษณา

กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 18-30 เมตร วัดขนาดรอบลำต้นได้ความยาวประมาณ 1.5-1.8 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นเรียบมีสีเทาอมขาว เปลือกมีความหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร เมื่ออายุมาก ๆ เปลือกนอกจะแตกเป็นร่องยาวตื้น ๆ ส่วนเปลือกด้านในจะมีสีขาวอมเหลือง ต้นมีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนอยู่ทั่วไป ตามกิ่งอ่อนจะมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อต้นมีอายุมากๆมักจะมีพูพอนที่โคนต้น

 

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี มีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม ส่วนโคนใบมน ใบเป็นสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบและเกลี้ยง มีขนขึ้นประปรายอยู่ตามเส้นใบด้านล่าง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน

 

TREBS

 

ผลเป็นรูปกลมรี ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวของผลมีลักษณะขรุขระเป็นลายสีเขียว และมีขนละเอียดสั้น ๆ คล้ายกำมะหยี่ขึ้น ผลเมื่อแก่จะแตกและอ้าออก ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด มีสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะกลมรี ขนาดประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีหางเมล็ดสีส้มหรือสีแดง ปกคลุมไปด้วยขนสั้นนิ่มสีแดงอมน้ำตาล

 

ไม้กฤษณาจะมีทั้งแบบเนื้อไม้ปกติและแบบเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา โดยเนื้อไม้ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ ๆ และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เป็นเสี้ยนตรง หยาบปานกลาง เลื่อยได้ง่าย ขัดเงาได้ไม่ดี ไม่ค่อยทนทานนัก เมื่อนำมาแปรรูปเสร็จก็ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็ว ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันจะมีสีดำ หนักและจมน้ำได้ ซึ่งคุณภาพของเนื้อไม้ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำมันภายในเซลล์ต่าง ๆ ของเนื้อไม้ นอกจากนี้คุณภาพของไม้กฤษณายังที่มีน้ำมันสามารถแบ่งออกเป็น 4 เกรด ได้แก่

 

เกรด 1 หรือที่เรียกว่า "ไม้ลูกแก่น" ส่วนต่างประเทศจะเรียกว่า "True agaru" เกรดนี้จะมีน้ำมันสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้มีสีดำ มีน้ำหนักเป็น 1.01 เท่าของน้ำหรือหนักกว่าจึงทำให้จมน้ำได้ มีกลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นจันทน์หิมาลัยและอำพันขี้ปลา เมื่อนำมาเผาไฟจะให้เปลวไฟโชติช่วงและมีกลิ่นหอม (ราคา 15,000-20,000 บาท/กิโลกรัม)

 

เกรด 2 เกรดนี้จะมีน้ำมันและกลิ่นหอมรองลงมา โดยเนื้อไม้สีจะจางออกทางน้ำตาล ต่างประเทศจะเรียกว่า "Dhum"โดยสีเนื้อไม้จะจางออกน้ำตาล และมีน้ำหนักเบากว่าน้ำ มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำมันดอกยี่สุ่น ซึ่งเมื่อนำมากลั้นจะได้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า agarattar

 

เกรด 3 มีน้ำมันและกลิ่นหอมรองลงมา มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ หรือมีน้ำหนักเป็น 0.62 เท่าของน้ำ จึงทำให้ลอยน้ำ

 

เกรด 4 เกรดนี้จะมีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมอยู่น้อย มีน้ำหนักเป็น 0.39 เท่าของน้ำ จึงทำให้ลอยน้ำ

 

ทุกคนเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วพอจะเข้าใจหรือไม่ว่าเพราะเหตุอะไรไม้กฤษณาถึงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และจำเป็นจะต้องทำการประเมินค่าเพื่อให้ได้มูลค่า จะเห็นได้จากสรรพคุณ รวมไปถึงเกรดต่างๆของไม้ที่บ่งบอกถึงความเป็นไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ ได้อย่างมหาศาลนั่นเอง ดังนั้น บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) เป็นศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่า จึงได้มีการประเมินมูลค่าไม้กฤษณาหลายครั้ง เนื่องจากว่าเป็นไม้ทางเศรษฐกิจสร้างมูลค่าได้ และยังเป็นงานที่ทางบริเองก็เชี่ยวชาญและทำมาโดยตลอดนั่นเอง

 

AREA

 

สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)
โทร: 02-295-3905 ต่อ 114
Email: info@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e

 

ขอขอบคุณ:  AREA แถลง ฉบับที่ 974/2566: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566