THAI REAL ESTATE
BUSINESS SCHOOL
Eng
Thai
ขั้น ตอน การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน พร้อม ตัวอย่าง เอกสาร จัดสรร ที่ดิน
ดูทั้งหมด Post: 21 พฤศจิกายน 2023
Share via
   

ขั้น ตอน การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน พร้อม ตัวอย่าง เอกสาร จัดสรร ที่ดิน

 

Land

 

สำหรับนักพัฒนาอสังหาฯแล้วนั้น การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่แยกออกมาตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป จะต้องทำการ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน ก่อนที่เราจะทำธุรกรรมใดๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน ผู้ที่จะเข้าสู่วงการนี้มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจ เตรียมความพร้อม รวมไปถึงทราบรายละเอียดและ ขั้น ตอน การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง ใช้แบบฟอร์มไหน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อไม่ให้ขาดตก ดังนั้น โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงรวบรวมข้อมูลมาฝาก พร้อมตัวอย่าง เอกสาร จัดสรร ที่ดิน ไปให้ทุกคนนำไปใช้และดูเป็นแบบอย่างได้นั่นเอง

 

ตัวอย่าง เอกสาร จัดสรร ที่ดิน

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า ตัวอย่าง เอกสาร จัดสรร ที่ดิน เป็นอย่างไรก่อนที่เราจะไปทำเรื่อง การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน ที่สำนักงานที่ดิน (กรมที่ดิน) ใครที่ไม่อยากยุ่งยาก โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้นำมาให้แล้ว โหลดฟรีได้เลย…

 

>>> แบบฟอร์มคำขออนุญาต <<<

 

 

เพื่อเตรียมความพร้อม และเพื่อให้การดำเนินการ ณ กรมที่ดินเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นการรีเช็คลิสต์ข้อมูลที่เราเตรียมเอกสารไว้นั้นว่าถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่ เมื่อเรารู้แล้วไปดูกันเลยว่าขั้นตอนมีอะไรบ้าง

 

เอกสารประกอบการใช้ยื่นการ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน

1. กลุ่มเอกสารยืนยันตัวตน

  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ใช้เอกสาร ดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส(ถ้ามี)

  • กรณีเป็นนิติบุคคล ในนามบริษัท จำกัด หรือบริษัท มหาชน ต้องใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ขอบังคับนิติบุคคล หนังสือบริคณหสินธิ วัตถุประสงค์ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หากเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ให้ใช้แบบรับรองการจัดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน รวมถึงบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลด้วย

 

2. กลุ่มเอกสารอื่นที่ต้องยื่นประกอบคําขอ

  • โฉนดที่ดิน/หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (ที่ดินแปลงที่ขอจัดสรร/ที่ดินแปลงภาระจํายอม)

  • บันทึกความยินยอมให้ทําการจัดสรรที่ดินของผู้รับจํานอง (กรณีมีการจํานอง)

  • รายการเฉลี่ยหนี้จํานอง ให้ระบุจํานวนเงินที่ผู้รับจํานองจะได้รับชําระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง พร้อมระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภค หรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ ไม่ต้องรับภาระหนี้จํานอง (กรณีมีการจํานอง)

  • แผนผังสังเขป ได้แก่ บริเวณที่ตั้งที่ดิน เส้นทางเข้า-ออก โครงการถึงถนนสาธารณะ

  • แผนผังบริเวณรวม ได้แก่ รูปต่อที่ดินแปลงที่นํามาจัดสรร

  • แผนผังการแบ่งแปลงที่ดิน ได้แก่ แผนผังแสดงจํานวนที่ดินแปลงย่อยและเนื้อที่ โดยประมาณของแต่ละแปลง

  • แผนผังระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ได้แก่ แผนผังระบบไฟฟ้าและประปา, แผนผังระบบการระบายน้ำและระบบบําบัดน้ำเสีย รวมถึงแผนผังระบบถนนและทางเท้า เป็นต้น

  • แผนงานโครงการ ระบุระยะเวลาการบํารุงรักษาสาธารณูปโภค วิธีการจําหน่ายที่ดินจัดสรร และการชําระราคาค่าภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรร, แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร, ที่ตั้งสํานักงานของผู้ขอใบอนุญาตทําการจัดสรรที่ดิน, ชื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกําหนด ซึ่งจะเป็นผู้ค้ําประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ หรือการปรับปรุงที่ดิน และคํ้าประกันการบํารุงรักษา สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เป็นต้น

  • หนังสืออนุญาตเชื่อมทาง, หนังสือรับรองพื้นที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร, หนังสือรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง, หนังสือรับรองจากการประปานครหลวง, หนังสืออนุญาตระบายน้ำ, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ในกรณีที่ต้องจัดทำรายงาน)

 

Land

 

ขั้น ตอน การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วตามข้อมูลข้างต้น จะเข้าสู่ขั้น ตอน การ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน โดนสถานที่ที่เราจะต้องไปดำเนินการคือ สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ และสาขา (กรณีพื้นที่กรุงเทพมหานคร) และพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถไปยื่นได้ที่กรมที่ดินจังหวัด สาขาส่วนแยก และอำเภอ โดยเวลาในการดำเนินการทั้งหมด 45 วัน โดยมีขั้นตอนดังนี้

 

1. ยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินที่สำนักงานที่ดิน (กรมที่ดิน)
อันดับแรกต้องทำคือนำคำขอพร้อมเอกสาร ตามรายละเอียดมาตรา 23 ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่ีสำนักงานที่ดินกรุงเทพฯหรือสาขา หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด สาขาส่วนแยกและอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารที่ยื่นมา โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการในขั้นตอนนี้ 1 วัน


2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและส่งต่อให้สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาครบแล้ว หากไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะยื่นเรื่องและส่งคำขออนุญาตการ จัดสรร ที่ดิน ให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดสรร ที่ดิน สำนังงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 2 วัน


3. สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน
เมื่อเจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดสรรที่ดิน สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับเรื่องแล้ว และคำขออนุญาต
ทำการจัดสรรที่ดินเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะทำการตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการ จัดสรร ที่ดินที่ผู้ขอจัดสรรได้ขออนุญาตทําการจัดสรรที่ดินไว้ โดยจะใช้เวลาในการดำเนินการ 14 วัน

 

4. เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่จริง
เมื่อตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่ไปตรวจสภาพพื้นที่ดิน สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะต่างๆ ในบริเวณที่ผู้ยื่นขออนุญาตจะทำการจัดสรรที่ดิน โดยใช้นะยะดวลาในการดำเนินการประมาณ 1 วัน

 

5. เจ้าหน้าที่ประมาณการราคาค่าก่อสร้าง
เมื่อเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดยส่วนที่เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งต่อผู้ยื่นขอจัดสรรที่ดิน เพื่อทําสัญญาค้ําประกันและการบํารุงรักษา ในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จนั้นก็จะแจ้งต่อผู้ยื่นขอจัดสรรที่ดิน เพื่อให้ทําสัญญาค้ําประกันการจัดทําสาธารณูปโภค

 

Land

 

6. ทําวาระการประชุมนําเรื่องเขาที่ประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
ขั้นตอนต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการทำเรื่องเข้าที่ประชุม โดยเจ้าหน้าที่จะจัดทำเป็นวาระการประชุมนําเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน เพื่อพิจารณาและลงมติผลว่าสามารถทำการจัดสรรที่ดินนี้ได้หรือไม่ได้ ซึ่งกระบวนการทำวาระนำเรื่องเข้าที่ประชุมได้นั้นใช้เวลาดำเนินการ 20 วัน

 

7. คณะกรรมการจัดสรรที่ดินประชุมพิจารณาและลงมติ
ในวันที่เรื่องเข้าวาระในที่ประชุมนั้นคณะกรรมการจัดสรรที่ดินก็จะประชุมพิจารณา และลงมติว่าการยื่นขอทำการจัดสรรที่ดินของเรานั้นสามารถทำการจัดสรรที่ดินนี้ได้หรือไม่ได้ เพื่อแจ้งผลให้กับผู้ยื่นขอต่อไป 

 

8. เจ้าหน้าที่ทําหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอจัดสรรได้ทราบ
เมื่อได้ผลมติจากที่ประชุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอจัดสรรได้ทราบ หากคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบก็จะเข้าสู่กระบวนการของการออกใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินต่อไป

 

ดังนั้นหากต้องการทำโครงการจัดสรร โดยแบ่งที่ดินออกเป็น 10 แปลงขึ้นไป หากใครไม่มีการ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 21 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับตั้งแต่ 40,000 - 100,000 บาท ตามมาตรา 59 เพราะฉะนั้นอย่าลืมทำเรื่องขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน กันนะ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับเรื่องการ ขอ อนุญาต จัดสรร ที่ดิน ที่ได้รวบรวมนำข้อมูลมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มาก็น้อยแกผู้อ่านในวันนี้นะครับ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย เป็นสถาบันให้ความรู้ด้านอสังหาฯระดับนานาชาติ ที่มีหลักสูตรครอบคลุมที่สุดแห่งหนึ่ง เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านความรู้ และการเสริมสร้างศักยภาพที่ดีแก่บุคคลากรในวงการอสังหาฯ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ มือใหม่ หรือผู้ที่มีประสบการณ์อยู่แล้วได้เข้ามาศึกษาเพิ่มเติมความรู้ อัพเดท หรือแม้แต่ปูพื้นฐานความเข้าใจ โดยมีหลักสูตรทั้งในระยะสั้น และระยะยาวด้วยนั่นเอง

 

TREBS

 

สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)

โทร: 02-295-3905 ต่อ 114
Email: info@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e

 

ขอขอบคุณ: กรมที่ดิน  และ baania