THAI REAL ESTATE
BUSINESS SCHOOL
Eng
Thai
ตัวอย่าง“สัญญาขายฝาก” ข้อควรรู้ก่อนตกลง
ดูทั้งหมด Post: 11 ตุลาคม 2023
Share via
   

ตัวอย่าง“สัญญาขายฝาก” ข้อควรรู้ก่อนตกลง

 

 

ในยุคที่มีการทำธุรกิจนายหน้าและขายฝากเป็นจำนวนมากนั้น หลายคนอาจจะยังสับสนอยู่บ้างว่าการขายฝากคืออะไร?? และต้องมีสัญญาขายฝากหรือไม่?? วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จะมาอธิบายขยายความ พร้อมนำตัวอย่างแบบฟอร์ม “สัญญาขายฝาก” มาฝากผู้อ่านกัน ก่อนที่จะไปดูรายละเอียดอื่น ทุกคนเข้าใจหรือยังว่า สัญญาขายฝากคืออะไร??

 

สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่นว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นขายให้แก่ผู้ขาย โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายสามารถไถ่ถอนทรัพย์นั้นคืนได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๕๓ ประกอบกับมาตรา ๔๙๑) หรือสรุปได้ว่า 

 

สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อ-ขายที่ผู้ขายตกลงให้ผู้ซื้อมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น โดยมีข้อตกลงในสัญญาร่วมกันว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ไม่เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด 

 

สัญญาขายฝาก ประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

  • ทำสัญญาขายฝากที่ใด
  • วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญาขายฝาก
  • รายละเอียดของผู้ซื้อ
  • รายละเอียดของผู้ขาย
  • รายละเอียดของทรัพย์สินที่จะขายฝาก
  • ราคาที่ตกลงซื้อขายกัน
  • ข้อตกลงของสัญญาซื้อขายระหว่างสองฝ่าย
  • ระยะเวลาที่สามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้
  • วันที่พ้นกำหนดไถ่คืน
  • ราคาที่ผู้ขายจะต้องไถ่คืน
  • ลงชื่อผู้ซื้อ ผู้ขายฝากและพยาน

 

ทรัพย์สินที่สามารถทำสัญญาขายฝากได้ มีดังนี้ 

  • ที่ดิน
  • ที่นา
  • สวน
  • บ้าน
  • ทองคำ
  • รถยนต์ / เรือ
  • โทรศัพท์มือถือ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ฯลฯ

หมายเหตุ: ทรัพย์สินทุกชนิดสามารถทำสัญญาขายฝากได้ทั้งสิ้น

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มสัญญาขายฝาก: >>> https://bit.ly/3Fa25n2 <<<

 

 

นอกจากนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย สถาบันอบรมระดับนานาชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในธุรกิจขายฝากเป็นอย่างมาก จึงได้เปิดสัมมนา การจำนอง-ขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นมาเพื่อที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่สนใจที่จะทำอาชีพนี้ หรือผู้ที่ต้องการหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้เข้ามาศึกษาเพื่อเพิ่มพูลความรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองในสายงานนี้ต่อไป

 

สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)
โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (คุณสัญชัย)
Email: lek2@area.co.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e


ขอขอบคุณ: ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, babform.com